วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สรุปจากการดูวิดิโอ โทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครู กิจกรรม...ผักสะอาดน่ากิน Uncut Classroom ตอน 1 ครูจินดา อยู่สุข รร.บ้านหนองพลับ

คุณครูจินดา อยู่สุข รร.บ้านหนองพลับ จังหวัด เพชรบุรี ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องนักเรียนไม่ชอบกินผัก จึงได้จัดกิจกรรมผักสะอาดน่ากิน โดยมีทั้งการเล่านิทานเกี่ยวกับผัก การเล่นเกมเกี่ยวกับผัก อีกทั้งยังมีการนำผักจริง ๆ มาให้นักเรียนได้ล้างทำความสะอาด โดยกิจกรรมทั้งหลายนี้มีเป้าหมายที่สำคัญ คือการให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการกินผัก

การสอนที่ครูใช้ คือการใช้อุปกรณ์การสอนที่เป็นของจริง (ผัก) กระตุ้นให้น.ร. มีการหัดสังเกต ด้วยการตั้งคำถามที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก ทุกคำถาม เป็นสิ่งที่โยงเข้าสู่ชีวิตประจำวัน ไม่ซับซ้อน ทั้งสอดแทรกความรู้ให้น.ร. ไปในตัว(การทำความสะอาดผัก)
ครูมิได้เน้นประเด็นการให้น.ร. อ่านให้ออก แต่ครูอ่านให้เด็กฟังเอง ทำนองเล่าเรื่อง
กระบวนเริ่มด้วยการให้น.ร. นั่งสมาธิ เป็นการทำให้เด็กพร้อมต่อการเรียนรู้ก่อน
การเริ่มเข้าสู่การเรียนรู้ ใช้การ์ตูน เป็นเครื่องมือ เพราะเป็นสิ่งที่จูงใจเด็กเล็กได้ดี (สังเกตได้ว่าน.ร. ทุกคนนั่งนิ่ง ตั้งใจฟัง) ต่อด้วยคำถาม เป็นการกระตุ้น ให้น.ร. คิด
การเล่าเรื่องของครูใช้การชี้ตัวอักษร ให้เด็กดูตามไป แม้เด็กไม่รู้จักการอ่านคำแต่ก็ทำให้เด็กเห็นความสัมพันธ์ของคำกับการอ่านของครูได้ระหว่างการเล่า(การอ่าน) ครูจะถามน.ร. เป็นระยะ เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์ กัน เช่น มะเขีอเทศสีอะไร
เรื่องที่เล่า เป็นการใช้เรื่องของผักมาเป็นตัวละคร เล่าเรื่องประโยชน์ของตัวเอง ต่อมนุษย์ที่กินเข้าไป
หลังการฟังเรื่องที่ครูเล่า กิจกรรมต่อภาพทำให้น.ร. ร่วมมือกัน การให้ต่อภาพ ดีกว่าการโชว์ภาพทันที เพราะน.ร. ได้เคลื่อนไหว เรียนรู้การช่วยเหลือกัน ต่อจากนั้น จึงมาช่วยกันบอกชื่อผักแต่ละชนิด
ขั้นให้น.ร. บอกชื่อผักที่ตนเองรู้จัก เป็นการกระตุ้นการคิด
หลังการคิดเองแล้ว ครูจึงนำเสนอผักของจริง ให้เด็กบอกชื่อ การถามเรื่องสีของผักที่เกี่ยวโยงกันได้ เช่น หัวไชเท้า
แครอท ทำให้น.ร. เรียนรู้การรู้จักสังเกตุและ แยกแยะสิ่งของ
อุปกรณ์ที่ครูใช้ ครูให้น.ร.สัมผัสได้ (สังเกตได้ว่า น.ร หลายคน ขอเข้าไปจับผักที่ครูนำมา)
ครูเริ่มมีการสอนแบบกระตุ้นจินตนาการของเด็ก ให้รู้จักคิดตาม เช่นเมื่อชูภาพกระหล่ำปี แล้วถามว่าอะไรที่มีรูปร่างคล้ายกันแต่เป็นทรงคล้ายกัน แต่มีรูปแบบกระจุก อยู่ทั่วไป (กระหล่ำดอก) เท่ากับครูกำลังใช้วิธีการ แบบปริศนาคำทาย ที่เด็กๆมักชอบ
ผักที่ครูยกมาถาม ครูจะโยงกับชีวิตตามจริง เช่น “เคยกินไหม” โยงไปสู่เนื้อหาที่ครูเพิ่งอ่านให้เด็กฟัง ถึงเรื่องประโยชน์ของผักชนิดต่างๆ เท่ากับทบทวนความรู้เนื้อหาที่เด็กเพิ่งได้ฟังครูอ่านเรื่องให้ฟัง
ในคำถามที่ครูถาม ครูสอดแทรกเรื่องการทำความสะอาดผักไปด้วย แต่ครูมิได้บอก แต่กลับถามน.ร. แทน เช่นวิธีล้างให้สะอาดทำอย่างไร แล้วครูเสริมให้ถ้าน.ร. ตอบไม่ถูก ครูทำของจริงให้ดู เช่นการล้างผักกาดขาว การล้างมะเขือยาว

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 (27/09/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ บรรยากาศในการเรียนในวันนี้ดีแแวันนี้อาจารย์ได้สรุปเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย คือ
-ความหมาย
-ความสำคัญ
-หลักการจัด
-การเขียนแผน
-วิธีการเรียนรู้
-พัฒนาการ
-สาระสำคัญ
-ประโยชน์
-การเขียนแผน
-การเขียนโครงการ
-การบูรณาการ
-การใช้คำถาม
-วิธีการประดิษฐ์ของเล่นวิทย์
-กิจกรรมวิทย์ กระบวนการ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
-ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การจำแนก

วันนี้เพื่อนๆช่วยกันตอบดีช่วยกันสรุปเนื้อหาที่เรียนมา อาจารย์นัดสอบวันอังคารหน้า 09.00 น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 (20/09/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆวันี้บรรยากาศในการเรียนดูไม่ค่อยดี เพื่อนดูแบบเพลียๆกันส่วนดิฉันก็รู้สึกไม่สบายปวดท้องไม่มีสมาธิในการเรียนเป็นอย่างมาก อาจารย์ให้ส่งแผนที่ไปเขียนมา แต่เขียนผิดจริงๆแล้วอาจารย์ให้เขียนเสริมประสบการณ์แต่เขียนเป็นศิลปะมา อาจารย์ได้แนะนำการเขียนแผนที่ถูกต้องของขั้นสอน จากนั้นดิฉัน เป็นลม จึงทำให้อาจารย์หยุดการสอนทันที

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 (13/09/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน เนื่องจากไม่สบาย จึงได้คัดลอกมาจาก นางสาว สุภาวดี ถาวรัตน์
สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคนสำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเนื้หาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยดังนี้
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น รู้จัก ชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา
2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ เช่น รู้จัก ครอบครัว ญาติ ชุมชน
3.ธรรมชาติรอบตัว เช่น สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เช่น รู้จักสี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก
บูรณาการทักษะทางวิทยาศาสตร์+สาระวิทยาศาสตร์
1.ศิลปะสร้างสรรค์
2.เกมการศึกษา
3.เล่นเสรี
4.เคลื่อนไหวและจังหวะ
5.เล่นกลางแจ้ง
6.เสริมประสบการณ์(เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด)
การเขียนแผน
จ. ลักษณะ รูปร่าง
อ. แหล่งที่มา
พ. ประโยชน์
พฤ. โทษ
ศ. การดูแลรักษา
จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายให้ไปเขียนแผนการสอนของตัวเองในแต่ล่ะวันมาส่งในคาบหน้า
บรรยากาศในการเรียนการสอนวันนี้ดิฉันรู้สึกดีและสนุกไปกับกาารเรียนและอากาศก็ไม่ร้อนค่ะ

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 (06/09/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้อาจารย์ให้ส่งงานที่เขียนหน่วยของคาบที่แล้ว แต่กลุ่มของดิฉันเขียนเป็นข้อมา แต่ที่จริงแล้วอาจารย์ให้เขียนเป็น My Mappiny กลุ่มของดิฉันต้องกลับไปเขียนมาใหม่ส่งในคาบหน้า จากนั้นอาจารย์ให้ดูวิดิโอ เรื่องของแสง ได้รู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของแสงและความหมายของแสง คือ แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็วมาก แสงจะมีการเดินทางเป็นเส้นตรงอย่าง ชนิดของวัตถุมี3ชนิดคือ วัตถุโปร่งแสง วัตถุโปร่งใส และวัตถุทึบแสง วัตถุที่แสงทะลุผ่านได้คือวัตถุโปร่งแสงและวัตถุโปร่งใส ส่วนวัตถุทึบแสงๆไม่สามรถทะลุผ่านได้ การสะท้อนของแสง เช่นใช้กระจกเงา แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิดกันทำให้แสงเกิดการหักเห แสงสีขาวที่เราเห็นประกอบไปด้วยสีต่าง7สีคือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง เมื่อแสงส่องผ่านละอองน้ำในอากาศทำให้เกิดรุ้งกินน้ำ เงาเป็นสิ่งที่คู่กับแแสงถ้าเราส่องไฟไปที่วัตถุจะทำให้เกิดเงาตรงข้ามกับวัตถุถ้าฉายแสงไปหลายทางก็จะเกิดเงาหลายๆด้าน เช่น การเล่นหุ่นเงา

บรรยากาศในวันนี้รู้สึกว่าไม่ค่อยดีหนัก เพราะเนื้อหาเยอะ แต่ก็ทำให้รุ้ประโยชน์ของแสงมากมาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 (30/08/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อน สำหรับการเรียนการสอนวันนี้นำบอรด์โครงการมาส่งพร้อมกับของเล่นวิทยาศาสตร์ที่นำไปแก้ไขมาส่ง แล้วอาจารยืให้บอกเหตุผลที่เลือกทำของเล่นชิ้นนี้ จากนั้นอาจารย์พูดถึงการจัดประสบการณ์ สาระ ความรู้ วิธีการการเรียนรู้ของเด็ก แล้วอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ให้ไปคิดหน่วยการสอนแล้วเขียนชื่อผู้รับผิดชอบของแต่ละวันมาด้วย อาจารย์ให้ไปดูโทรทัศน์ครูแล้วสรุปลงบล๊อก



วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10(23/08/2554)

สวสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้บรรยากาศค่อนข้างร้อนแต่ไม่รู้ว่าหนูรู้สึกคนเดียวหรือเปล่าคะ วันนี้อาจารย์พูดถึงหลักการจัดกิจกรรม และการเขียนกับการทำโครงการ

โครงการ คือ ความต้องการและความอยากรู้
โครงการมี 3 ระยะ - ระยะที่ 1
- ระยะที่ 2
- ระยะที่ 3

เด็กอยากรู้อะไร คือ
สำรวจว่าเด็กอยากรุ้เรื่องอะไรมากที่สุด ตัวอย่าง เรื่องนาฬิกา มีราคา ทำมาจากไหน ขนาด รูปทรง สี ประเภท ประโยชน์ ลักษณะ วัสดุ โลโก้
โดยพา เด็ก ไปสำรวจ ไปร้านนาฬิกา สอบถามผู้รู้ ร้านซ่อมนาฬิกา และให้เด็กจัดนิทรรศการ

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำจากขวดนํ้าพลาสติกโดยดิฉัน ทำที่เป่าให้ลูกโป่งพองโตขึ้นซึ่งเป่ากันสี่คน อาจารย์ได้แนะนำเพิ่มเติม คือ

1. ตั้งชื่อผลงาน
2. เปลี่ยนหลอดให้ยาวกว่านี้เพื่อที่จะไม่ให้หน้าชนกันขณะเป่า และเปลี่ยนลูกโป่งที่บางกว่านี้
3. เขียนขั้นตอนวิธีการทำพร้อมถ่ายรูป

อาจารย์ได้ตรวจงานของเพื่อนๆ และกลุ่มดิฉันก็ได้ส่งงานอีกชิ้น คือ ป้ายโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติด ที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มของดิฉันได้จัดบอรด์เรื่องของ บุหรี่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 (16/08/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้บรรยากาศในการเรียนตื่นเต้นเพราะเพื่อนๆนำงานมาเสนออาจารย์ อาจารย์ให้บอกข้อความรู้ที่ได้ว่าได้อะไรจากของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำมา แล้วอาจารย์ก็แนะนำเพิ่มเติมให้ถูกต้องกับทุกคน
ดิฉันได้เสนออาจารย์ไปว่า ร่มชูชีพได้ในเรื่องของ แรงโน้มถ่วง แต่อาจารย์บอกว่ามันไม่ใช่ แล้วก็แนะนำเพิ่มเติมว่าได้ในเรื่องของแรงพยุงเพราะวัตถุที่มีพื้นที่มาก ทำให้อากาศจะอาศัยอยู่เยอะจึงทำให้เกิดแรงพยุงงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ และอาจารย์ก็ได้แนะนำของเพื่อนๆจนครบ จากนั้นอาจารย์ให้ดูวิดิโอ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่องของนํ้า
นํ้า คือ นํ้ามีความจำเป็นต่อคนเรา เวลาแดดร้อนทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและทำให้เหงื่อออกนํ้าในร่างกายจึงออกมาเกับเหงื่อจึงทำให้คนเราต้องการนํ้าร่างกายของเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบ 70% คนเราจะขาดนํ้าได้เพียง 3 วันเท่านั้น
นํ้าจะมีอยู่ 3 สถานะ คือ
ของแข็ง
ของเหลว
ก๊าซ ซึ่งของแข็งจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซโดยเกิดเป็นไอนํ้า

- เพื่อนรู้ไหมคะว่าทำไมจึงเกิดฝน เพราะ เมื่อแหล่งนํ้านั้นได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์แล้วเกิดเป็นไอ เมื่อไอลอยขึ้นบนฟ้าจะกลายเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆจะกระทบกับความเย็นของชั้นบรรยากาศจึงทำใหเกิดหยดนํ้า นั้นก็ทำให้กลายเป็นฝนนั้นเอง เมื่อฝนตกจึงทำให้เกิดแหล่งนํ้า แล้วรู้ไหมว่าแอ่งนํ้านั้นหายไปไหนเมื่อฝนหยุดตก ก็เพราะนํ้าจากแอ่งจะระเหยจากการโดนความร้อนของดวงอาทิตย์เพราะแอ่งนํ้ามีพื้นผิวที่กว้างก้นจะตื่นจึงทำให้ระเหยได้ง่ายกว่าแอ่งนํ้าที่ก้นลึกเช่นแม่นํ้าเป็นต้น

- เพื่อนรู้ไหมว่าทำไมเราจึงว่ายนํ้าในนํ้าทะเลได้ดีกว่าานํ้าจืด เพราะนํ้าเกลือจะมีความหนาแน่นกว่านํ้าเปล่า จึงทำให้ว่ายนํ้าในทะเลได้ดีกว่านํ้าจืด และเกลือยังมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถดูดความร้อนได้ เราจึงมักเห็นพ่อค้าขายไอศกรีมน้ำเกลือมาใส่ในถังน้ำแข็ง เพื่อเกลือจะได้ดูดความร้อนและทำให้น้ำแข็งละลายช้าลง

- เพื่อนรู้ไหมว่าแรงดันคืออะไร ก็คือแรงดันของน้ำมีแรงกดดันไม่เท่ากัน แรงกดดันของน้ำด้านบนมีแรงกดดันของน้ำน้อย แรงกดดันของน้ำที่อยู่ด้านล่างจะมีแรงกดดันของน้ำมากกว่า คือในระดับความลึกของน้ำจะมีแรงกดดันไม่เท่ากัน ในระดับความลึกจะมีแรงกดดันมากกว่า ในระดับเดียวกันก็จะมีแรงดันเท่ากัน สรุปคือ แรงกดดันของน้ำอยู่ที่ระดับความลึกของน้ำ และนักวิทยาศาสตร์ใช้เรื่องนี้ในการทดลองสร้างเขื่อนเก็บน้ำ

- เพื่อนรู้ไหมคะว่าทำไหมผิวนํ้าถึงเรียบในระนาบเดียวกัน ก็เพราะ เมื่อแรงดันอากาศของตํ่าแหน่ง 2 ตํ่าแหน่งเท่ากันก็จะทำให้ผิวนํ้าอยู่ในระเดียวกัน

- เพื่อนรู้ไหมว่าทำไมเข็มถึงลอยบนผิวนํ้าได้คะ ก็เพราะว่ามีแรงตึงผิว เมื่อผิวนํ้าสัมผัสกับอากาศจึงทำให้โมเลกุลยืดหยุ่นทำให้เข็มที่ไม่หนักลอยอยู่บนผิวนํ้าได้หรือเกิดการพยุง

- เพื่อนรู้ไหมว่าปรากฎการณ์ท่อรูเข็มคืออะไรคะ ก็คือ คุณสมบัติของนํ้าที่จะแทรกซึมผ่านกระดาษโดยการดูดซึมจึงทำให้นํ้าหยดโดยผ่านท่อรูเข็ม

วันนี้อาจารย์และเพื่อนๆร่วมกันคิดสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำจากขวดนํ้าพลาสติก อาจารย์แบ่งแล้วมอบหมายให้ไปทำมาส่งมีทั้งงานเดี่ยวและคู่แล้วนำมาเสนอคาบหน้า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 (09/08/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้เป็นสัปดาห์ของการสอบ จึงไม่มีการเรียนการสอนคะ

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 (02/08/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้บรรยากาศในการเรียนดีคะวันนี้อาจารย์ให้เสนองาน ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ให้ไปเตรียมมา ดิฉันเสนอ

>> ร่มชูชีพ งานนำเสนออาจารย์แนะนำให้ไปปรับปรุง ตกแต่งให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น

วิธีการทำ
1. นำถุงพลาสติกเหลือใช้มาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม
2. ตัดเชือกมาผูกกับถุงพลาสติกทั้งสี่มุม
3. ผูกเชือกกับตัวตุ๊กตาเพื่อถ่วงนํ้าหนักไว้
4. จากนั้นตกแต่งให้สวยงามตามต้องการ
5. ทดลองเล่นดูว่าเล่นได้สมบูรณ์ใหม่

งานที่นำมาแก้ไขมีดังนี้

วัสดุอุปกรณ์
- ถุงพลาสติก
-เชือก
-ฝาขวด
-ฟิวเจอร์บอรด์
-กระดาษสี
-กระดาษ A4
-กรรไกร
-กาว
-สก็อตเทป
-สี

ขั้นตอนการทำ

1. นำถุงพลาสติกมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม
2. นำเชือกมาผูกทั้งสี่มุมของถุงพลาสติก
3. เมื่อผูกเชือกเสร็จ แล้ววาดรูปในกระดาษและระบายสี
4. นำรูปที่วาดแปะบนถุงพลาสติกและตัดกระดาษสีเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อตกแต่งเพิ่มเติม
5.นำเชือกที่ผูกไว้มาผูกอีกทีแล้วมาผูกกับฝาขวดให้แน่น
6. ตัดฟิวเจอร์บอร์ดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมแล้วพันกับสก็อตเทปเพื่อให้เป็นรูปกล่อง
7. นำตัวร่มชูชีพที่เป็นฝาใส่ลงไปในกล่อง
8. ทดลองเล่นดูว่าสมบูรณ์ไหม

ร่มชูชีพได้ในเรื่องของ

ดิฉันคิดว่าได้ในเรื่องของแรงโน้มถ่วง แต่ที่จริงแล้วที่ถูกต้องคือ

>> ได้ความรู้เรื่อง แรงพยุงเมื่อวัตถุที่มีพื้นที่มากจะทำให้อากาศเข้าไปอยู่เยอะจึงทำให้เกิดการพยุงของวัตถุให้เคลื่อนที่ช้า แรงพยุงสามารถทำให้วัตถุลอยอยุ่บนอากาศได้ หากเราโยนร่มชูชีพแล้วปล่อยลงมาแบบไม่กางปีกจะทำให้ร่มชูชีพตกลงมาเร็วกว่า กับการปล่อยลงมาแบบกางปีกจะทำให้ร่มชุชีพตกลงมาช้ากว่าเพราะมีพื้นที่และอากาศเยอะกว่าแบบไม่กางปีก


วันนี้อาจารย์ต้องไปประชุมจึงให้นักศึกษากลับไปทำงานที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงให้เสร็จพร้อมนำเสนอคาบหน้า


วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 (26/07/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้บรรยากาศสบายๆ ไม่หนาววันนี้สรุปข้อความรู้ของวิทยาศาสตร์และการรณรงค์โครงการลด ละ เลิก เหล้าบุหรี่และสิ่งเสพติด อาจารย์พูดถึงการทำโครงการวิธีการเขียนโครงการ ขั้นตอนในการเขียน และให้นักศึกษาไปเขียนโครงการเป็นของตัวเอง อาจารย์ตรวจบล๊อกและพูดถึงการนำวิจัยใส่บล๊อกและอาจารย์ให้ลิงค์โทรทัศน์ครู แล้วสรุปลงบล๊อกจากนั้นเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

เนื้อหาการเรียน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เป็นกระบวนการที่ให้เด็กสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้และแก้ไขปัญหาได้ตามวัยของเด็กเอง
1. ความหมายทักษะการสังเกต
- คือการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือประสาทสัมผัสทั้ง5โดยสัมผัสตรงกับวัตถุซึ่งมีจุดประสงค์ในการหาข้อมูลโดยระเอียด เช่นการสังเกตรูปร่าง การสังเกตรูปร่างรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

2. ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
- ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งขิงโดยการหาเกณฑ์ คิอ ความเหมือน ความแตกต่าง ความสัมพันธ์รวม

3. ความหมายทักษะการวัด
- คือ การใช้เครื่องมือต่างๆในการวัดหาปริมาณของสิ่งของได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับ

4. ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
- คือ การพูด การเขียน ภาษาและท่าทาง รูปภาพ และสีหน้า สามารถรับรู้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน เช่น สามารถบรรยายลักษณะของวัตถุได้

5. ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
- การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หริอประสบการณ์

6. ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
- คือการรู้จักเรียนรู้1มิติ 2มิติ 3มิติ การเขียนรูป2มิติแทนรูป 3มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจาก3มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย

7. ความหมายทักษะการคำนวณ
- คือ ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุโดย การบวก การลบ การคูณ การหาร การกำหนดลักษณะต่างๆ ความกว้าง ความยาว ความสูง

จากนั้นก็ร่วมกันพูดถึง กิจกรรม 6 กิจกรรมหลักของเด็กปฐมวัย ตามหลักสูตร 2546 มีกิจกรรมอะไรบ้่าง ดังนี้
1. กิจกรรมเสริมประสบการณ์(กิจกรรมวงกลม)
2. กิจกรรมเสรี
3. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. เกมการศึกษา

การบ้าน

1. ให้นักศึกษากลับไปคิดของเล่นวิทยาศาสตร์มาคนละ 1 ชิ้น

2. เขียนโครงการ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่ และสิ่งเสพติด

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 (19/07/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้บรรยากาศในการเรียนหนาวมาก อาจารย์พูดถึงกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เรียนมาโดยสรุปกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ทดลองกันไปโดยอาจารย์ให้เขียนเป็น Mind map หัวข้อมีดังนี้
1. วัสดุ อุปกรณ์
2. วิธีการทดลอง
3. สรุปผลการทดลอง
4. ผลที่ได้รับ

และอาจารย์ก็ได้สนทนาถึงโครงการ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่และ สิ่งเสพติดเพื่อถวายแด่พ่อหลวง 84 พรรษา แล้วอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม เป็นกลุ่มเดิมที่ทดลองอาจารยืให้แต่ละกลุ่มกลับไปเขียนหลักการและเหตุผลในการเขียนดครงการ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 (12/07/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้บรรยากาศในการเรียนรู้สึกดี อากาศเย็นสบายดีเหมือนฝนกำลังจะตก วันนี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนองานที่ให้ไปเตรียมไว้ในการนำเสนอที่เป็นรูปแบบใหม่ๆ และกลุ่มของดิฉันรายงานเรื่อง แนวคิดของนักการศึกษาซึ่งกลุ่มของดิฉันรายงานแบบเป็นรายการโทรทัศน์เป็นผู้ประกาศข่าว อาจารย์ให้คำแนะนำในการนำเสนอเพื่อแก้ไขปรับปรุงไว้เป็นแนวทางต่อไป และในวันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมทดลอง วิทยาศสตร์ ซึ่งแต่ละกลุ่มที่ไปเตรียมมาก็ทำการทดลอง กลุ่มของดิฉันทดลองกิจกรรม ลูกเกดเต้นระบำ
กิจกรรมลูกเกดเต้นระบำ ดังนี้
1.นำน้ำโซดาเทใส่แก้ว 1 ใบและน้ำเปล่าเทใส่แก้ว 1 ใบ
2.นำลูกเกดใส่แก้วทั้ง 2 ใบแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูกเกดในแก้วทั้ง 2 ใบ
3.สรุปได้ดังนี้ลูกเกดที่อยู่ในแก้วน้ำโซดามีการจบ ลอยสลักกันไปมาแต้ลูกเกดที่อยู่ในแก้วน้ำเปล่าจมอยู่ก้นแก้วปกติ
ผลการทดลอง
ลูกเกดที่อยู่ในน้ำโซดาจะมีการลอยตัวขึ้น-ลง แต่ลูกเกดที่อยู่ในน้ำเปล่าจะนิ่งและจมอยู่ก้นแก้ว
สาเหตุที่ลูกเกดลอยตัวขึ้น-ลง
เนื่องจากแรงดันของก๊าซที่อยู่ภายในน้ำโซดาทำให้ลูกเกดเกิดการเคลื่อนไหวและลอยตัวขึ้น-ลง

และกิจกรรมของกลุ่มเพื่อนๆก็สนุก ตื่นเต้น น่าสนใจที่จะทำการทดลองเป็นอย่างมากทำให้การเรียนในวันนี้น่าสนใจและเข้าใจเป้นอย่างดีคะ

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 (05/07/2554)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้สดชื่น ท้องฟ้าแจ่มใส ในวันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานกลุ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว แต่ละกลุ่มได้ทำการนำเสนอมาแบบPower Point แต่อาจารย์ต้องการให้มีการนำเสนอในรูปแบบใหม่ๆ อาจารย์จึงให้เวลา 20 นาที ให้แต่ละกลุ่มคิดการนำเสนอ แต่ไม่มีกลุ่มไหนออกมานำเสนอเลยอาจารย์จึงให้เวลาเป็นสัปดาห์หน้าในการนำเสนอ แต่ต้องเป็นการนำเสนอในรูปแบบใหม่ๆ
*งานที่ได้รับมอบหมาย
-แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน หากิจกรรมวิทยาศาสตร์มาจัดในห้องเรียนในสัปดาห์หน้า

ซึ่งดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบายจึงไปศึกษาของ สุกัญญา ปานอุทัยมาคะ

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 (28/06/2554)

สวัสดีคะอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆ วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน เนื่องจากไม่สบาย แต่ดิฉันได้ไปถามเพื่อนว่าวันนี้เรียนอะไรบ้างและเพื่อนก็ได้อธิบายให้คะ และได้ไปศึกษาของเพื่อนมา ซึ่งดิฉันได้ศึกษาของ สุกัญญา ปานอุทัยมาคะ มีเนื้อหาดังนี้
สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้ แจ๋มใสมากไม่หนาวและไม่ร้อนจนเกินไป วันนี้อาจารย์เปิด เพลงไอน้ำ ให้ฟังแล้วให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นดังนี้
ความรู้ที่ได้จากการฟังเพลง
-เมื่อพระอาทิตย์ส่องแสงลงแม่น้ำแล้วทำให้แม่น้ำร้อนจนระเหยเป็นไอน้ำ
เพลงนี้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
-เพลงนี้มีเนื้อย่างไร หาวัฎจักรของแม่น้ำที่ระเหยเป็นไอ
นำไปจัดการเรียนการสอนอย่างไร
-นำเพลงเข้าไปเป็นสื่อในการเรียนการสอน
-นำเพลงเข้าไปเป็นขั้นนำในการสอนหน่วย
*งานที่ได้รับมอบหมาย
งานเดี่ยว
หาความหมายของวิทยาศาสตร์
-พัชราภรณ์ พสุวัต (2522:3) อธิบายว่า วิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่มีเนื้อหาสาระซึ่งเป็นเรื่องราวของสิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ได้รวบรวมความจริงเหล่านั้นเพื่อนำมาเป็นความรู้และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น
พัชราภรณ์ พสุวัต.พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ในชั้นมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2522
หาความสำคัญของวิทยาศาสตร์
-วิทยาศาสตร์มีความสำคัญสำหรับทุกคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ชายและผู้หญิง ชาวกรุงหรือชาวชนบท ทหารและพลเรือน วิทยาศาสตร์นี้เองทำให้โลกเราเป็นอย่างปัจจุบันนี้ วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของคนเรา การใช้วิทยาศาสตร์อย่างชาญฉลาดจะทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น แต่การใช้วิทยาศาสตร์อย่างผิดๆก็มีผลในการทำลาย
s.v.Bosak ค.ศ. 1991 หน้า 1-5 โดย จริยา สุจารีกุล
งานกลุ่ม
-หาแนวคิดของนักการศึกษา

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 (21/06/2554)

สวัสดีคะอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆ การเรียนการสอนวันนี้เป็นครั้งแรกที่เจอกันในรายวิชานี้ บรรยากาศตอนเช้าอากาศดีน่าเรียน เย็นสบาย แต่ดิฉันไม่สบายเลยเลยง่วงนอนแต่ก็พยายามฟังที่อาจารย์พูดคะ รู้สึกตื้นเต้นเพราะไม่ว่าวิชานี้ วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะยากหรือเปล่า อาจารย์ได้ถามความคิดเห็นนักศึกษา และเพื่อนในห้องก็ช่วยกันแสดงความคิดเห็น แล้วอาจารย์ก็ได้อธิบาย ว่าวิทยาศสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร