วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สรุปจากการดูวิดิโอ โทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครู กิจกรรม...ผักสะอาดน่ากิน Uncut Classroom ตอน 1 ครูจินดา อยู่สุข รร.บ้านหนองพลับ

คุณครูจินดา อยู่สุข รร.บ้านหนองพลับ จังหวัด เพชรบุรี ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องนักเรียนไม่ชอบกินผัก จึงได้จัดกิจกรรมผักสะอาดน่ากิน โดยมีทั้งการเล่านิทานเกี่ยวกับผัก การเล่นเกมเกี่ยวกับผัก อีกทั้งยังมีการนำผักจริง ๆ มาให้นักเรียนได้ล้างทำความสะอาด โดยกิจกรรมทั้งหลายนี้มีเป้าหมายที่สำคัญ คือการให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการกินผัก

การสอนที่ครูใช้ คือการใช้อุปกรณ์การสอนที่เป็นของจริง (ผัก) กระตุ้นให้น.ร. มีการหัดสังเกต ด้วยการตั้งคำถามที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก ทุกคำถาม เป็นสิ่งที่โยงเข้าสู่ชีวิตประจำวัน ไม่ซับซ้อน ทั้งสอดแทรกความรู้ให้น.ร. ไปในตัว(การทำความสะอาดผัก)
ครูมิได้เน้นประเด็นการให้น.ร. อ่านให้ออก แต่ครูอ่านให้เด็กฟังเอง ทำนองเล่าเรื่อง
กระบวนเริ่มด้วยการให้น.ร. นั่งสมาธิ เป็นการทำให้เด็กพร้อมต่อการเรียนรู้ก่อน
การเริ่มเข้าสู่การเรียนรู้ ใช้การ์ตูน เป็นเครื่องมือ เพราะเป็นสิ่งที่จูงใจเด็กเล็กได้ดี (สังเกตได้ว่าน.ร. ทุกคนนั่งนิ่ง ตั้งใจฟัง) ต่อด้วยคำถาม เป็นการกระตุ้น ให้น.ร. คิด
การเล่าเรื่องของครูใช้การชี้ตัวอักษร ให้เด็กดูตามไป แม้เด็กไม่รู้จักการอ่านคำแต่ก็ทำให้เด็กเห็นความสัมพันธ์ของคำกับการอ่านของครูได้ระหว่างการเล่า(การอ่าน) ครูจะถามน.ร. เป็นระยะ เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์ กัน เช่น มะเขีอเทศสีอะไร
เรื่องที่เล่า เป็นการใช้เรื่องของผักมาเป็นตัวละคร เล่าเรื่องประโยชน์ของตัวเอง ต่อมนุษย์ที่กินเข้าไป
หลังการฟังเรื่องที่ครูเล่า กิจกรรมต่อภาพทำให้น.ร. ร่วมมือกัน การให้ต่อภาพ ดีกว่าการโชว์ภาพทันที เพราะน.ร. ได้เคลื่อนไหว เรียนรู้การช่วยเหลือกัน ต่อจากนั้น จึงมาช่วยกันบอกชื่อผักแต่ละชนิด
ขั้นให้น.ร. บอกชื่อผักที่ตนเองรู้จัก เป็นการกระตุ้นการคิด
หลังการคิดเองแล้ว ครูจึงนำเสนอผักของจริง ให้เด็กบอกชื่อ การถามเรื่องสีของผักที่เกี่ยวโยงกันได้ เช่น หัวไชเท้า
แครอท ทำให้น.ร. เรียนรู้การรู้จักสังเกตุและ แยกแยะสิ่งของ
อุปกรณ์ที่ครูใช้ ครูให้น.ร.สัมผัสได้ (สังเกตได้ว่า น.ร หลายคน ขอเข้าไปจับผักที่ครูนำมา)
ครูเริ่มมีการสอนแบบกระตุ้นจินตนาการของเด็ก ให้รู้จักคิดตาม เช่นเมื่อชูภาพกระหล่ำปี แล้วถามว่าอะไรที่มีรูปร่างคล้ายกันแต่เป็นทรงคล้ายกัน แต่มีรูปแบบกระจุก อยู่ทั่วไป (กระหล่ำดอก) เท่ากับครูกำลังใช้วิธีการ แบบปริศนาคำทาย ที่เด็กๆมักชอบ
ผักที่ครูยกมาถาม ครูจะโยงกับชีวิตตามจริง เช่น “เคยกินไหม” โยงไปสู่เนื้อหาที่ครูเพิ่งอ่านให้เด็กฟัง ถึงเรื่องประโยชน์ของผักชนิดต่างๆ เท่ากับทบทวนความรู้เนื้อหาที่เด็กเพิ่งได้ฟังครูอ่านเรื่องให้ฟัง
ในคำถามที่ครูถาม ครูสอดแทรกเรื่องการทำความสะอาดผักไปด้วย แต่ครูมิได้บอก แต่กลับถามน.ร. แทน เช่นวิธีล้างให้สะอาดทำอย่างไร แล้วครูเสริมให้ถ้าน.ร. ตอบไม่ถูก ครูทำของจริงให้ดู เช่นการล้างผักกาดขาว การล้างมะเขือยาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น