วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สรุปจากการดูวิดิโอ โทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครู กิจกรรม...ผักสะอาดน่ากิน Uncut Classroom ตอน 1 ครูจินดา อยู่สุข รร.บ้านหนองพลับ

คุณครูจินดา อยู่สุข รร.บ้านหนองพลับ จังหวัด เพชรบุรี ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องนักเรียนไม่ชอบกินผัก จึงได้จัดกิจกรรมผักสะอาดน่ากิน โดยมีทั้งการเล่านิทานเกี่ยวกับผัก การเล่นเกมเกี่ยวกับผัก อีกทั้งยังมีการนำผักจริง ๆ มาให้นักเรียนได้ล้างทำความสะอาด โดยกิจกรรมทั้งหลายนี้มีเป้าหมายที่สำคัญ คือการให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการกินผัก

การสอนที่ครูใช้ คือการใช้อุปกรณ์การสอนที่เป็นของจริง (ผัก) กระตุ้นให้น.ร. มีการหัดสังเกต ด้วยการตั้งคำถามที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก ทุกคำถาม เป็นสิ่งที่โยงเข้าสู่ชีวิตประจำวัน ไม่ซับซ้อน ทั้งสอดแทรกความรู้ให้น.ร. ไปในตัว(การทำความสะอาดผัก)
ครูมิได้เน้นประเด็นการให้น.ร. อ่านให้ออก แต่ครูอ่านให้เด็กฟังเอง ทำนองเล่าเรื่อง
กระบวนเริ่มด้วยการให้น.ร. นั่งสมาธิ เป็นการทำให้เด็กพร้อมต่อการเรียนรู้ก่อน
การเริ่มเข้าสู่การเรียนรู้ ใช้การ์ตูน เป็นเครื่องมือ เพราะเป็นสิ่งที่จูงใจเด็กเล็กได้ดี (สังเกตได้ว่าน.ร. ทุกคนนั่งนิ่ง ตั้งใจฟัง) ต่อด้วยคำถาม เป็นการกระตุ้น ให้น.ร. คิด
การเล่าเรื่องของครูใช้การชี้ตัวอักษร ให้เด็กดูตามไป แม้เด็กไม่รู้จักการอ่านคำแต่ก็ทำให้เด็กเห็นความสัมพันธ์ของคำกับการอ่านของครูได้ระหว่างการเล่า(การอ่าน) ครูจะถามน.ร. เป็นระยะ เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์ กัน เช่น มะเขีอเทศสีอะไร
เรื่องที่เล่า เป็นการใช้เรื่องของผักมาเป็นตัวละคร เล่าเรื่องประโยชน์ของตัวเอง ต่อมนุษย์ที่กินเข้าไป
หลังการฟังเรื่องที่ครูเล่า กิจกรรมต่อภาพทำให้น.ร. ร่วมมือกัน การให้ต่อภาพ ดีกว่าการโชว์ภาพทันที เพราะน.ร. ได้เคลื่อนไหว เรียนรู้การช่วยเหลือกัน ต่อจากนั้น จึงมาช่วยกันบอกชื่อผักแต่ละชนิด
ขั้นให้น.ร. บอกชื่อผักที่ตนเองรู้จัก เป็นการกระตุ้นการคิด
หลังการคิดเองแล้ว ครูจึงนำเสนอผักของจริง ให้เด็กบอกชื่อ การถามเรื่องสีของผักที่เกี่ยวโยงกันได้ เช่น หัวไชเท้า
แครอท ทำให้น.ร. เรียนรู้การรู้จักสังเกตุและ แยกแยะสิ่งของ
อุปกรณ์ที่ครูใช้ ครูให้น.ร.สัมผัสได้ (สังเกตได้ว่า น.ร หลายคน ขอเข้าไปจับผักที่ครูนำมา)
ครูเริ่มมีการสอนแบบกระตุ้นจินตนาการของเด็ก ให้รู้จักคิดตาม เช่นเมื่อชูภาพกระหล่ำปี แล้วถามว่าอะไรที่มีรูปร่างคล้ายกันแต่เป็นทรงคล้ายกัน แต่มีรูปแบบกระจุก อยู่ทั่วไป (กระหล่ำดอก) เท่ากับครูกำลังใช้วิธีการ แบบปริศนาคำทาย ที่เด็กๆมักชอบ
ผักที่ครูยกมาถาม ครูจะโยงกับชีวิตตามจริง เช่น “เคยกินไหม” โยงไปสู่เนื้อหาที่ครูเพิ่งอ่านให้เด็กฟัง ถึงเรื่องประโยชน์ของผักชนิดต่างๆ เท่ากับทบทวนความรู้เนื้อหาที่เด็กเพิ่งได้ฟังครูอ่านเรื่องให้ฟัง
ในคำถามที่ครูถาม ครูสอดแทรกเรื่องการทำความสะอาดผักไปด้วย แต่ครูมิได้บอก แต่กลับถามน.ร. แทน เช่นวิธีล้างให้สะอาดทำอย่างไร แล้วครูเสริมให้ถ้าน.ร. ตอบไม่ถูก ครูทำของจริงให้ดู เช่นการล้างผักกาดขาว การล้างมะเขือยาว

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 (27/09/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ บรรยากาศในการเรียนในวันนี้ดีแแวันนี้อาจารย์ได้สรุปเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย คือ
-ความหมาย
-ความสำคัญ
-หลักการจัด
-การเขียนแผน
-วิธีการเรียนรู้
-พัฒนาการ
-สาระสำคัญ
-ประโยชน์
-การเขียนแผน
-การเขียนโครงการ
-การบูรณาการ
-การใช้คำถาม
-วิธีการประดิษฐ์ของเล่นวิทย์
-กิจกรรมวิทย์ กระบวนการ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
-ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การจำแนก

วันนี้เพื่อนๆช่วยกันตอบดีช่วยกันสรุปเนื้อหาที่เรียนมา อาจารย์นัดสอบวันอังคารหน้า 09.00 น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 (20/09/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆวันี้บรรยากาศในการเรียนดูไม่ค่อยดี เพื่อนดูแบบเพลียๆกันส่วนดิฉันก็รู้สึกไม่สบายปวดท้องไม่มีสมาธิในการเรียนเป็นอย่างมาก อาจารย์ให้ส่งแผนที่ไปเขียนมา แต่เขียนผิดจริงๆแล้วอาจารย์ให้เขียนเสริมประสบการณ์แต่เขียนเป็นศิลปะมา อาจารย์ได้แนะนำการเขียนแผนที่ถูกต้องของขั้นสอน จากนั้นดิฉัน เป็นลม จึงทำให้อาจารย์หยุดการสอนทันที

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 (13/09/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน เนื่องจากไม่สบาย จึงได้คัดลอกมาจาก นางสาว สุภาวดี ถาวรัตน์
สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคนสำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเนื้หาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยดังนี้
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น รู้จัก ชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา
2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ เช่น รู้จัก ครอบครัว ญาติ ชุมชน
3.ธรรมชาติรอบตัว เช่น สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เช่น รู้จักสี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก
บูรณาการทักษะทางวิทยาศาสตร์+สาระวิทยาศาสตร์
1.ศิลปะสร้างสรรค์
2.เกมการศึกษา
3.เล่นเสรี
4.เคลื่อนไหวและจังหวะ
5.เล่นกลางแจ้ง
6.เสริมประสบการณ์(เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด)
การเขียนแผน
จ. ลักษณะ รูปร่าง
อ. แหล่งที่มา
พ. ประโยชน์
พฤ. โทษ
ศ. การดูแลรักษา
จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายให้ไปเขียนแผนการสอนของตัวเองในแต่ล่ะวันมาส่งในคาบหน้า
บรรยากาศในการเรียนการสอนวันนี้ดิฉันรู้สึกดีและสนุกไปกับกาารเรียนและอากาศก็ไม่ร้อนค่ะ

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 (06/09/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้อาจารย์ให้ส่งงานที่เขียนหน่วยของคาบที่แล้ว แต่กลุ่มของดิฉันเขียนเป็นข้อมา แต่ที่จริงแล้วอาจารย์ให้เขียนเป็น My Mappiny กลุ่มของดิฉันต้องกลับไปเขียนมาใหม่ส่งในคาบหน้า จากนั้นอาจารย์ให้ดูวิดิโอ เรื่องของแสง ได้รู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของแสงและความหมายของแสง คือ แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็วมาก แสงจะมีการเดินทางเป็นเส้นตรงอย่าง ชนิดของวัตถุมี3ชนิดคือ วัตถุโปร่งแสง วัตถุโปร่งใส และวัตถุทึบแสง วัตถุที่แสงทะลุผ่านได้คือวัตถุโปร่งแสงและวัตถุโปร่งใส ส่วนวัตถุทึบแสงๆไม่สามรถทะลุผ่านได้ การสะท้อนของแสง เช่นใช้กระจกเงา แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิดกันทำให้แสงเกิดการหักเห แสงสีขาวที่เราเห็นประกอบไปด้วยสีต่าง7สีคือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง เมื่อแสงส่องผ่านละอองน้ำในอากาศทำให้เกิดรุ้งกินน้ำ เงาเป็นสิ่งที่คู่กับแแสงถ้าเราส่องไฟไปที่วัตถุจะทำให้เกิดเงาตรงข้ามกับวัตถุถ้าฉายแสงไปหลายทางก็จะเกิดเงาหลายๆด้าน เช่น การเล่นหุ่นเงา

บรรยากาศในวันนี้รู้สึกว่าไม่ค่อยดีหนัก เพราะเนื้อหาเยอะ แต่ก็ทำให้รุ้ประโยชน์ของแสงมากมาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 (30/08/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อน สำหรับการเรียนการสอนวันนี้นำบอรด์โครงการมาส่งพร้อมกับของเล่นวิทยาศาสตร์ที่นำไปแก้ไขมาส่ง แล้วอาจารยืให้บอกเหตุผลที่เลือกทำของเล่นชิ้นนี้ จากนั้นอาจารย์พูดถึงการจัดประสบการณ์ สาระ ความรู้ วิธีการการเรียนรู้ของเด็ก แล้วอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ให้ไปคิดหน่วยการสอนแล้วเขียนชื่อผู้รับผิดชอบของแต่ละวันมาด้วย อาจารย์ให้ไปดูโทรทัศน์ครูแล้วสรุปลงบล๊อก



วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10(23/08/2554)

สวสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้บรรยากาศค่อนข้างร้อนแต่ไม่รู้ว่าหนูรู้สึกคนเดียวหรือเปล่าคะ วันนี้อาจารย์พูดถึงหลักการจัดกิจกรรม และการเขียนกับการทำโครงการ

โครงการ คือ ความต้องการและความอยากรู้
โครงการมี 3 ระยะ - ระยะที่ 1
- ระยะที่ 2
- ระยะที่ 3

เด็กอยากรู้อะไร คือ
สำรวจว่าเด็กอยากรุ้เรื่องอะไรมากที่สุด ตัวอย่าง เรื่องนาฬิกา มีราคา ทำมาจากไหน ขนาด รูปทรง สี ประเภท ประโยชน์ ลักษณะ วัสดุ โลโก้
โดยพา เด็ก ไปสำรวจ ไปร้านนาฬิกา สอบถามผู้รู้ ร้านซ่อมนาฬิกา และให้เด็กจัดนิทรรศการ

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำจากขวดนํ้าพลาสติกโดยดิฉัน ทำที่เป่าให้ลูกโป่งพองโตขึ้นซึ่งเป่ากันสี่คน อาจารย์ได้แนะนำเพิ่มเติม คือ

1. ตั้งชื่อผลงาน
2. เปลี่ยนหลอดให้ยาวกว่านี้เพื่อที่จะไม่ให้หน้าชนกันขณะเป่า และเปลี่ยนลูกโป่งที่บางกว่านี้
3. เขียนขั้นตอนวิธีการทำพร้อมถ่ายรูป

อาจารย์ได้ตรวจงานของเพื่อนๆ และกลุ่มดิฉันก็ได้ส่งงานอีกชิ้น คือ ป้ายโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติด ที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มของดิฉันได้จัดบอรด์เรื่องของ บุหรี่