วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10(23/08/2554)

สวสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้บรรยากาศค่อนข้างร้อนแต่ไม่รู้ว่าหนูรู้สึกคนเดียวหรือเปล่าคะ วันนี้อาจารย์พูดถึงหลักการจัดกิจกรรม และการเขียนกับการทำโครงการ

โครงการ คือ ความต้องการและความอยากรู้
โครงการมี 3 ระยะ - ระยะที่ 1
- ระยะที่ 2
- ระยะที่ 3

เด็กอยากรู้อะไร คือ
สำรวจว่าเด็กอยากรุ้เรื่องอะไรมากที่สุด ตัวอย่าง เรื่องนาฬิกา มีราคา ทำมาจากไหน ขนาด รูปทรง สี ประเภท ประโยชน์ ลักษณะ วัสดุ โลโก้
โดยพา เด็ก ไปสำรวจ ไปร้านนาฬิกา สอบถามผู้รู้ ร้านซ่อมนาฬิกา และให้เด็กจัดนิทรรศการ

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำจากขวดนํ้าพลาสติกโดยดิฉัน ทำที่เป่าให้ลูกโป่งพองโตขึ้นซึ่งเป่ากันสี่คน อาจารย์ได้แนะนำเพิ่มเติม คือ

1. ตั้งชื่อผลงาน
2. เปลี่ยนหลอดให้ยาวกว่านี้เพื่อที่จะไม่ให้หน้าชนกันขณะเป่า และเปลี่ยนลูกโป่งที่บางกว่านี้
3. เขียนขั้นตอนวิธีการทำพร้อมถ่ายรูป

อาจารย์ได้ตรวจงานของเพื่อนๆ และกลุ่มดิฉันก็ได้ส่งงานอีกชิ้น คือ ป้ายโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติด ที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มของดิฉันได้จัดบอรด์เรื่องของ บุหรี่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 (16/08/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้บรรยากาศในการเรียนตื่นเต้นเพราะเพื่อนๆนำงานมาเสนออาจารย์ อาจารย์ให้บอกข้อความรู้ที่ได้ว่าได้อะไรจากของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำมา แล้วอาจารย์ก็แนะนำเพิ่มเติมให้ถูกต้องกับทุกคน
ดิฉันได้เสนออาจารย์ไปว่า ร่มชูชีพได้ในเรื่องของ แรงโน้มถ่วง แต่อาจารย์บอกว่ามันไม่ใช่ แล้วก็แนะนำเพิ่มเติมว่าได้ในเรื่องของแรงพยุงเพราะวัตถุที่มีพื้นที่มาก ทำให้อากาศจะอาศัยอยู่เยอะจึงทำให้เกิดแรงพยุงงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ และอาจารย์ก็ได้แนะนำของเพื่อนๆจนครบ จากนั้นอาจารย์ให้ดูวิดิโอ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่องของนํ้า
นํ้า คือ นํ้ามีความจำเป็นต่อคนเรา เวลาแดดร้อนทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและทำให้เหงื่อออกนํ้าในร่างกายจึงออกมาเกับเหงื่อจึงทำให้คนเราต้องการนํ้าร่างกายของเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบ 70% คนเราจะขาดนํ้าได้เพียง 3 วันเท่านั้น
นํ้าจะมีอยู่ 3 สถานะ คือ
ของแข็ง
ของเหลว
ก๊าซ ซึ่งของแข็งจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซโดยเกิดเป็นไอนํ้า

- เพื่อนรู้ไหมคะว่าทำไมจึงเกิดฝน เพราะ เมื่อแหล่งนํ้านั้นได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์แล้วเกิดเป็นไอ เมื่อไอลอยขึ้นบนฟ้าจะกลายเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆจะกระทบกับความเย็นของชั้นบรรยากาศจึงทำใหเกิดหยดนํ้า นั้นก็ทำให้กลายเป็นฝนนั้นเอง เมื่อฝนตกจึงทำให้เกิดแหล่งนํ้า แล้วรู้ไหมว่าแอ่งนํ้านั้นหายไปไหนเมื่อฝนหยุดตก ก็เพราะนํ้าจากแอ่งจะระเหยจากการโดนความร้อนของดวงอาทิตย์เพราะแอ่งนํ้ามีพื้นผิวที่กว้างก้นจะตื่นจึงทำให้ระเหยได้ง่ายกว่าแอ่งนํ้าที่ก้นลึกเช่นแม่นํ้าเป็นต้น

- เพื่อนรู้ไหมว่าทำไมเราจึงว่ายนํ้าในนํ้าทะเลได้ดีกว่าานํ้าจืด เพราะนํ้าเกลือจะมีความหนาแน่นกว่านํ้าเปล่า จึงทำให้ว่ายนํ้าในทะเลได้ดีกว่านํ้าจืด และเกลือยังมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถดูดความร้อนได้ เราจึงมักเห็นพ่อค้าขายไอศกรีมน้ำเกลือมาใส่ในถังน้ำแข็ง เพื่อเกลือจะได้ดูดความร้อนและทำให้น้ำแข็งละลายช้าลง

- เพื่อนรู้ไหมว่าแรงดันคืออะไร ก็คือแรงดันของน้ำมีแรงกดดันไม่เท่ากัน แรงกดดันของน้ำด้านบนมีแรงกดดันของน้ำน้อย แรงกดดันของน้ำที่อยู่ด้านล่างจะมีแรงกดดันของน้ำมากกว่า คือในระดับความลึกของน้ำจะมีแรงกดดันไม่เท่ากัน ในระดับความลึกจะมีแรงกดดันมากกว่า ในระดับเดียวกันก็จะมีแรงดันเท่ากัน สรุปคือ แรงกดดันของน้ำอยู่ที่ระดับความลึกของน้ำ และนักวิทยาศาสตร์ใช้เรื่องนี้ในการทดลองสร้างเขื่อนเก็บน้ำ

- เพื่อนรู้ไหมคะว่าทำไหมผิวนํ้าถึงเรียบในระนาบเดียวกัน ก็เพราะ เมื่อแรงดันอากาศของตํ่าแหน่ง 2 ตํ่าแหน่งเท่ากันก็จะทำให้ผิวนํ้าอยู่ในระเดียวกัน

- เพื่อนรู้ไหมว่าทำไมเข็มถึงลอยบนผิวนํ้าได้คะ ก็เพราะว่ามีแรงตึงผิว เมื่อผิวนํ้าสัมผัสกับอากาศจึงทำให้โมเลกุลยืดหยุ่นทำให้เข็มที่ไม่หนักลอยอยู่บนผิวนํ้าได้หรือเกิดการพยุง

- เพื่อนรู้ไหมว่าปรากฎการณ์ท่อรูเข็มคืออะไรคะ ก็คือ คุณสมบัติของนํ้าที่จะแทรกซึมผ่านกระดาษโดยการดูดซึมจึงทำให้นํ้าหยดโดยผ่านท่อรูเข็ม

วันนี้อาจารย์และเพื่อนๆร่วมกันคิดสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำจากขวดนํ้าพลาสติก อาจารย์แบ่งแล้วมอบหมายให้ไปทำมาส่งมีทั้งงานเดี่ยวและคู่แล้วนำมาเสนอคาบหน้า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 (09/08/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้เป็นสัปดาห์ของการสอบ จึงไม่มีการเรียนการสอนคะ

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 (02/08/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้บรรยากาศในการเรียนดีคะวันนี้อาจารย์ให้เสนองาน ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ให้ไปเตรียมมา ดิฉันเสนอ

>> ร่มชูชีพ งานนำเสนออาจารย์แนะนำให้ไปปรับปรุง ตกแต่งให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น

วิธีการทำ
1. นำถุงพลาสติกเหลือใช้มาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม
2. ตัดเชือกมาผูกกับถุงพลาสติกทั้งสี่มุม
3. ผูกเชือกกับตัวตุ๊กตาเพื่อถ่วงนํ้าหนักไว้
4. จากนั้นตกแต่งให้สวยงามตามต้องการ
5. ทดลองเล่นดูว่าเล่นได้สมบูรณ์ใหม่

งานที่นำมาแก้ไขมีดังนี้

วัสดุอุปกรณ์
- ถุงพลาสติก
-เชือก
-ฝาขวด
-ฟิวเจอร์บอรด์
-กระดาษสี
-กระดาษ A4
-กรรไกร
-กาว
-สก็อตเทป
-สี

ขั้นตอนการทำ

1. นำถุงพลาสติกมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม
2. นำเชือกมาผูกทั้งสี่มุมของถุงพลาสติก
3. เมื่อผูกเชือกเสร็จ แล้ววาดรูปในกระดาษและระบายสี
4. นำรูปที่วาดแปะบนถุงพลาสติกและตัดกระดาษสีเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อตกแต่งเพิ่มเติม
5.นำเชือกที่ผูกไว้มาผูกอีกทีแล้วมาผูกกับฝาขวดให้แน่น
6. ตัดฟิวเจอร์บอร์ดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมแล้วพันกับสก็อตเทปเพื่อให้เป็นรูปกล่อง
7. นำตัวร่มชูชีพที่เป็นฝาใส่ลงไปในกล่อง
8. ทดลองเล่นดูว่าสมบูรณ์ไหม

ร่มชูชีพได้ในเรื่องของ

ดิฉันคิดว่าได้ในเรื่องของแรงโน้มถ่วง แต่ที่จริงแล้วที่ถูกต้องคือ

>> ได้ความรู้เรื่อง แรงพยุงเมื่อวัตถุที่มีพื้นที่มากจะทำให้อากาศเข้าไปอยู่เยอะจึงทำให้เกิดการพยุงของวัตถุให้เคลื่อนที่ช้า แรงพยุงสามารถทำให้วัตถุลอยอยุ่บนอากาศได้ หากเราโยนร่มชูชีพแล้วปล่อยลงมาแบบไม่กางปีกจะทำให้ร่มชูชีพตกลงมาเร็วกว่า กับการปล่อยลงมาแบบกางปีกจะทำให้ร่มชุชีพตกลงมาช้ากว่าเพราะมีพื้นที่และอากาศเยอะกว่าแบบไม่กางปีก


วันนี้อาจารย์ต้องไปประชุมจึงให้นักศึกษากลับไปทำงานที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงให้เสร็จพร้อมนำเสนอคาบหน้า